วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

SATA III

รายละเอียด OCZ Vertex 450 SATA III 2.5"" SSD 256GB
       OCZ Vertex 450 SATA III 2.5"" SSD 256 GB คืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่เหมือนกับฮาร์ดดิสก์ เพียงแต่รูปแบบการบันทึกข้อมูลของ SSD จะเป็นการบันทึกข้อมูลแบบ Flash Memory ซึ่งจะทำให้คุณสามารถใช้งานได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น 
คุณสมบัติเด่น
ประหยัดพลังงาน
OCZ Vertex 450 SATA III 2.5"" SSD 256 GB ใช้งานเช่นเดียวกับ HDD ปกติ ทั้งนี้ การอ่านและเขียนจะได้ข้อมูลเร็วกว่า ประหยัดพลังงานกว่า ทนแรงสั่นสะเทือนได้ดีกว่า และอายุการใช้งานนานกว่า เนื่องจากไม่ต้องใช้หัวอ่านและจานหมุนเหมือน HDD ปกติ สามารถใช้ได้กับ Notebook, Ultrabook, Desktop และ Mac โดยใช้ช่องเสียบหรือสาย SATA เดิม
ข้อมูลจำเพาะ
PHYSICAL
Usable Capacities (IDEMA) : 256GB
NAND Components : 20nm Multi-Level Cell (MLC) Flash
NAND Controller : Indilinx Barefoot 3 M10
Interface : SATA 3 6Gb/s (Backwards compatible with SATA II 3Gb/s)
Form Factor : 2.5-inch, ultra-slim 7mm
Dimension (L x W x H) : 99.7 x 69.75 x 7mm
Weight : 115g

RELIABILITY / PROTECTION
Data Path Protection : BCH ECC corrects up to 44 random bits/1KB
Endurance : Rated for 20GB/day of host writes for 3 years under typical client workloads
Product Health Monitoring : Self-Monitoring, Analysis and Reporting Technology (SMART)
Support

ENVIRONMENTAL
Power Consumption : 256GB Idle: 0.60W, Active: 2.65W
Operating Temperature : 0°C ~ 55°C
Storage Temperature : -45°C ~ 85°C
Shock Resistance : 1500G/0.5ms
Certifications : RoHS, CE, FCC, KCC, C-Tick, BSMI, VCCI, UL

COMPATABILITY
Serial ATA (SATA) : Fully compliant with SATA International Organization: Serial ATA Revision 3.0. Fully compliant with ATA/ATAPI-8 Standard Native Command Queuing (NCQ)
Power Requirements : Standard SATA Power Connector
Operating System : Windows / Mac / Linux

ADDITIONAL FEATURES
Performance Optimization : TRIM (requires OS support), Idle Time Garbage Collection
Included Accessories : Acronis True Image HD cloning software registration key; 3.5"" desktop adapter
Service & Support : 3-Year Warranty, Toll-Free Tech Support, 24 Hour Forum Support, Firmware Updates

ข้อมูลจำเพาะของ OCZ Vertex 450 SATA III 2.5"" SSD 256G


SKU
OC764ELAC78SANTH-103341
Model
VTX450-25SAT3-256G
Size
VTX450-25SAT3-256G
Weight (kg)
115g
Color
Black
Product warranty
3 Years

DDR3-1333

DDR3 คือ


          DDR3 คือมาตรฐานเมโมรียุคใหม่สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากมาตรฐาน DDR และDDR2 เพื่อให้เมโมรีสามารถทำงานร่วมกับเมนบอร์ดและซีพียูได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น ไม่สะสมความร้อนและใช้พลังงานต่ำ ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานอย่างเป็นทางการจากองค์กร JEDEC (Joint Electron Devie Engineering Council) ผู้กำหนดมาตรฐานเทคโนโลยีชิ้นส่วนอีเล็คทรอนนิคระดับโลก
DDR3 มีประสิทธิภาพเหนือกว่า DDR2 อย่างไร ?
เพื่อ ให้คุณเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างมาตรฐานเมโมรีแบบ DDR2 และ DDR3 ได้ง่ายขึ้น ให้ดูตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างมาตรฐานทั้งสองอย่างเป็นทางการจาก JEDEC
ข้อสังเกตุความต่างระหว่าง DDR3 กับ DDR2
1. หน่วยความจำ DDR3 กำหนดคีย์แตกต่างไป เพื่อป้องกันไม่ให้เสียบลงช่องสำหรับหน่วยความจำ DDR2
2. หน่วยความจำ DDR3 SODIMM มีปัจจัยด้านรูปแบบเหมือนกับ DDR2 แต่มีขาเพิ่มอีก 4 ขา นอกจากนั้นยังกำหนดคีย์แตกต่างไป เพื่อป้องกันไม่ให้เสียบลงช่องสำหรับ DDR2
เนื่องจากมีการกำหนดแรงดันไฟฟ้า และจำนวนขาที่แตกต่างกัน หน่วยความจำ DDR3 จึงมี คีย์ หรือร่องที่ขั้วต่อแตกต่างไป เพื่อป้องกันไม่ให้เสียบลงช่องที่ไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้ หน่วยความจำ DDR3 จะใส่ได้เฉพาะกับระบบ และเมนบอร์ด ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อรองรับหน่วยความจำ DDR3 เท่านั้น
ชิปหน่วยความจำ DDR3
ชิปหน่วยความจำ DDR3 ผลิตในรูปแบบ FBGA (FINE-PITCH BALL GRID ARRAY) เหมือนกับชิปของ DDR2 ตามรูปด้านล่าง
 การเชื่อมต่อชิป DRAM ทั้งหมดอยู่ด้านล่างชิป DRAM
ชิป DDR3 ยังมีลักษณะภายในแตกต่างจากชิปหน่วยความจำ DDR2 อีกด้วย เช่น ชิปหน่วยความจำ DDR3 มีคุณสมบัติดังนี้:ทำงานที่แรงดันไฟฟ้า 1.5 โวลต์ ทำให้ใช้พลังงานลดลงประมาณ 30% และมีความร้อนลดลงด้วย เมื่อเทียบกับ DDR2ประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น ช่วยปรับปรุงการทำงานของหน่วยความจำ เพิ่มประสิทธิภาพ และไทม์มิ่งมาร์จินชิปมีขนาด 4 กิกะบิต ช่วยให้มีหน่วยความจำได้สูงถึง 16GB หรือใหญ่กว่านั้นBandwidth ของ DDR3
ข้อมูลจำเพาะสำหรับหน่วยความจำ DDR3 ได้รับการพัฒนาและอนุมัติจาก JEDEC ธรรมเนียมการกำหนดชื่อของDDR3 เหมือนกับ DDR2 และ DDRระบบที่มีหน่วยความจำสองช่องสัญญาณ จะมีแบนด์วิดท์กว้างเป็นสองเท่า ของแบนด์วิดท์กว้างสุด ตามที่ระบุข้างต้น เช่น ระบบที่ใช้ PC3-8500 สามารถมีแบนด์วิดท์ของหน่วยความจำได้กว้างสุด 2 X 8.5 GB/ วินาที หรือ 17 GB/ วินาที

http://ittech24hr.wordpress.com/2012/09/27/ddr3-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/





วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Quad core

quad core คือ คำที่ใช้เรียก CPU ที่มี 4 คอร์ครับ
ส่วน dual core คือ คำที่ใช้เรียก CPU ที่มี 2 คอร์ครับ
quad core แรงกว่า dual core
dual core คือ cpu ที่มีหน่วยประมวลผลภายในทำงานพร้อมกัน 2 หน่วย และ quad core มี 4 หน่วย เรียกรวมๆ cpu ที่มีหลาย core ว่า multi core ใน cpu multi core นี้ แต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น ก็มีสถาปัตยกรรม หรือรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป
Quad-Core = จริงๆมันคือ ชื่อเรียก CPU ที่มี 4 Core
Quad Core ในตลาดเซิร์ฟเวอร์
สำหรับตลาดของเซิร์ฟเวอร์ที่เอเอ็มดีกำลังมีความสุขมากๆ เพราะมีสัดส่วนในตลากเพิ่มขึ้นเรื่อง หลังจากที่บรรดาเครื่องเซิร์ฟเวอร์แบรน์ระดับโลกอย่าง HP, IBM และ DELL ได้นำซีพียู Opteron มาใช้ในเซิร์ฟเวอร์ของตน



ซีพียู Opteron แบบ Quad Core ของเอเอ็มดีนั้นก็คือซีพียูที่มีชื่อรหัสเดิมว่า Barcelona หรือถ้าจะเรียกเป็นเวอร์ชันของซีพียูก็จะเรียกกันว่า K8L นั่นเอง ถ้าใครติดตาม QuickPC มาเป็นประจำก็คงจะได้ทราบเกี่ยวกับคุณสมบัติเบื้องต้นของซีพียู K8L กันไปบ้างแล้ว
สำหรับจุดขายประการแรกของ Quad Core Opteron ที่เอเอ็มดีประกาศออกมาก็คือเป็นซีพียู Quad Core ที่แท้จริง เพราะเป็นซีพียูที่สร้างมาแบบมี 4 แกนประมวลผลบน Die ชิ้นเดียว ในขณะที่ Quad Core ของอินเทลเป็นการนำ Die ที่มีแกนประมวลผล 2 ตัว จำนวนสองชุดมาติดตั้งในตัวแพกเกจเดียวกัน ซึ่งผมคิดว่าอีกไม่นานตามเว็บบอร์ดต่าง ๆ ก็จะทีการถกเถียงกันอีกว่า Quad Core จริงกับไม่จริงมันเป็นยังไง

Core i7

Core i7 ที่สุดสำหรับความแรงในวันนี้ 


     Core i7 เป็นซีพียูตัวแรกจาก Intel ที่มีการรวมส่วนควบคุมหน่วยความจำ (Memory Controller) เข้าไว้ในตัวซีพียูเลย ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ทาง AMD ได้นำไปใส่ไว้ในซีพียู Athlon 64 ตั้งแต่เมื่อนานนมมาแล้ว โดยสถาปัตยกรรม Nehalem ที่ใช้ใน Core i7 นั้นได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากสถาปัตยกรรม Core ที่ใช้ใน Core 2 Duo และ Core 2 Quad แต่ได้เพิ่มคุณสมบัติใหม่ๆ เข้าไปไว้ด้วย Core i7 นั้นมาในรูปแบบ 3 ซ็อกเก็ตด้วยกันได้แก่ LGA1366 (Core i7-9xx ซึ่งใช้สถาปัตยกรรมหน่วยความจำแบบ Tripple Channel และมีบัสแบบ QPI), LGA1156 (Core i7-8xx ซึ่งใช้สถาปัตยกรรมหน่วยความจำแบบ Dual Channel, มีตัวควบคุม PCI Express 2.0 รวมมาด้วย และใช้บัส DMI) และสุดท้ายคือ PGA988 สำหรับโน้ตบุ๊ก (มีสเปคแบบเดียวกับ LGA1156)
     แต่เดิมทีนั้นซีพียูจาก Intel จะใช้คัวควบคุมหน่วยความจำภายนอกที่อยู่ภายในชิพ North Bridge (รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งคือ Memory Controller Hub หรือ MCH) ซึ่งหมายความว่าซีพียูใดก็ตามที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบนี้ ชิพเซ็ตจะเป็นตัวที่ทำหน้าที่กำหนดประเภทและปริมาณของหน่วยความจำที่ใช้ได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น แต่ในเมื่อ Core i7 มีการรวมตัวควบคุมหน่วยความจำเข้าไปไว้ในตัวซีพียูแล้ว ตัวซีพียูเอง (ไม่ใช่ชิพเซ็ต) จะเป็นผู้ทำหน้าที่กำหนดว่าท่านสามารถจะใส่หน่วยความจำแบบใดและปริมาณเท่าไรลงไปในเครื่องได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นตัวเมนบอร์ดเองก็อาจมีส่วนด้วยเหมือนกันในการกำหนดปริมาณสูงสุดของหน่วยความจำที่สามารถใส่ลงไปได้ ตัวควบคุมหน่วยความจำที่อยู่ใน Core i7 นั้นรองรับแรมเฉพาะแบบ DDR3 เท่านั้น (ที่แรงดันไฟสูงสุด 1.6V ฉะนั้นแล้วแรมตัวใดก็ตามที่ใช้ไฟมากกว่านี้จะไม่สามารถทำงานร่วมกับซีพียูได้ และอาจสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นกับตัวซีพียูได้ถ้ายังขืนใช้) ซีพียู Core i7-9xx ซึ่งเป็นแบบซ็อกเก็ต LGA1366 นั้นจะใช้แรมแบบ Tripple Channel ที่ความเร็วบัส 800 และ 1066MHz ในขณะที่ Core i7-8xx ที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1156 และซ็อกเก็ต 988 บนโน้ตบุ๊กนั้นจะรองรับแรมแบบ DDR3 แบบ Dual Channel ที่ความเร็วบัส 800, 1066 และ 1333MHz ครับ
     โดยสถาปัตยกรรมหน่วยความจำแบบ DDR3 ที่เป็น Tripple Channel บนซีพียู Core i7-9xx นั้นจะอนุญาตให้ซีพียูเข้าถึงแรมทั้งสามตัวที่ติดตั้งอยู่ได้พร้อมๆ กันเพื่อทำการเขียนหรือเก็บข้อมูลบนแรมชุดดังกล่าว ซึ่งความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ได้ต่อช่วงหนึ่งลูกคลื่นสัญญาณนาฬิกาที่มีหน่วยวัดเป็นบิท (bit) นั้นจะเพิ่มขึ้นจาก 128 (ในแรมแบบ Dual Channel) ไปเป็น 192 โดยในทางทฤษฎีแล้วแรมแบบ Tripple Channel จะมีแบนวิธเพิ่มขึ้นถึงกว่า 50% เมื่อเทียบกับแรมแบบ Dual Channel ที่ความเร็วสัญญาณนาฬิกาของแรมที่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น แรม DDR3 ที่ความเร็ว 1066MHz นั้นจะมีอัตราการรับส่งข้อมูลสูงสุดที่ 17GB/s ในขณะที่ถ้าติดตั้งเป็นแบบ Tripple Channel แล้วจะมีอัตราการรับส่งข้อมูลสูงสุดเพิ่มขึ้นเป็น 25.5GB/s เป็นต้น
     Core i7-8xx ที่ใช้ซ็อกเก็ตแบบ LGA1366 นั้นจะติดต่อสื่อสารกับระบบในส่วนที่เหลือโดยใช้บัสแบบใหม่ที่เรียกว่า QPI (Quickpath Interconnect) โดยบัสตัวนี้ทำงานที่ความเร็ว 2.4GHz (4.8GB/s) บน Core i7 ธรรมดา และ 3.2GHz (6.4GB/s) บน Core i7 Extreme สำหรับซีพียู Core i7-8xx ที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1156 และ 988 บนโน้ตบุ๊กนั้นจะมีส่วนควบคุม PCI Express 2.0 รวมมาให้ไว้ด้วย หน้าที่หลักของมันนั้นคือทำให้กราฟฟิกการ์ดสามารถติดต่อสื่อสารกับซีพียูได้โดยตรงนั่นเอง ซึ่งในทางทฤษฏีสามารถเพิ่มปริมาณแบนวิธการรับส่งข้อมูลได้ นอกจากนั้น ตัวซีพียู Core i7-8xx ดังกล่าวจะสามารถเข้าถึงกราฟฟิกการ์ดตัวเดียวที่ความเร็ว x16 ในขณะที่ถ้าต่อการ์ดเชื่อมกันสองใบอัตราการเข้าถึงข้อมูลจะลดลงมาที่ x8/x8 และเนื่องจากการที่โมเดลซีพียูเหล่านี้มีตัวควบคุม PCI Express 2.0 รวมมาไว้ให้ในตัวซีพียูแล้ว ทาง Intel ได้ตัดสินใจใช้บัสที่มีการลดความเร็วลงที่เรียกว่า DMI (Digital Media Interface) ซึ่งทำงานที่ความเร็ว 2GB/s ในการเชื่อมตัวซีพียูเข้ากับชิพเซ็ต (แทนที่จะเป็น QPI ที่ใช้บนซีพียู Core i7-9xx บนซ็อกเก็ต LGA1366) อย่างไรก็ตามแบนวิธการรับส่งข้อมูลที่น้อยกว่านั้นไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด เนื่องด้วยการที่ QPI มีแบนวิธมากกว่านั้นเป็นเพราะว่าตัวซีพียูต้องทำการสื่อสารกับตัวควบคุม PCI Express 2.0 ที่อยู่บนชิพ North Bridge นั่นเอง แต่เนื่องจากซีพียู Core i7 ที่เป็นซ็อกเก็ต 1156 และ 988 นั้นได้มีการรวมตัวควบคุม PCI Express 2.0 เอาไว้บนตัวซีพียูแล้ว จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องพึ่งแบนวิธที่สูงมากแต่อย่างใดในการทำงานครับ
     ความเหมือนที่สถาปัตยกรรม Core i7 มีเหมือนกับของทาง AMD นั่นคือซีพียูทุกตัวในตระกูลนี้มีส่วนที่เรียกว่า base clock นั่นเอง ซึ่งจะอยู่ที่ 133MHz ในซีพียูทุกๆ ตัว
     นอกจากนั้น Core i7 ทุกตัวจะมีคุณสมบัติที่เรียกว่า Turbo Boost ซึ่งก็คือฟังชั่นการโอเวอร์คล็อกแกนซีพียูที่กำลังถูกใช้งานอยู่โดยอัตโนมัตินั่นเอง
     คุณสมบัติอีกตัวหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับ Core i7 นั่นก็คือเทคโนโลยี Hyper Threading ซึ่งจะทำการจำลองแกนซีพียูเพิ่มขึ้นมา 2 ตัวสำหรับทุกๆ แกนการประมวลผล ยกตัวอย่างเช่น Core i7-920 มีจำนวนแกนจริงๆ ทั้งหมด 4 แกน แต่เมื่อรวมคุณสมบัติ Hyper Threading ไปด้วยแล้วระบบปฏิบัติการจะเห็นแกนซีพียูเป็นทั้งหมด 8 แกนจำลอง (เรียกอีกอย่างว่า Thread) เป็นต้น
     Core i7 Extreme นั้นเป็นซีพียูที่แรงและแพงที่สุดของ Core i7 ทั้งหมดแล้ว โดยรุ่นสูงสุดในปัจจุบันนั้นคือ Core i7-980X Extreme Edition ซึ่งมี 6 แกน/12เธรด ซึ่งใช้กระบวนการผลิต 32 นาโนเมตร โดยความต่างของตัว Extreme Edition นั้นจะอยู่ที่ตัวซีพียูได้รับการปลดล็อคตัวคูณมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนั้นยังมีความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่มากกว่ารุ่นอื่นๆ รวมทั้งมีการใช้บัส QPI
ซีพียูเดสก์ท้อป
     ด้านล่างนั้นท่านผู้อ่านจะเห็นตารางของซีพียู Core i7 ในแต่ละรุ่นทั้งหมดเท่าที่มีการออกวางจำหน่ายในตอนนี้ครับ ซึ่งก็อย่างที่ได้อธิบายไปแล้วว่า ตัวเป็นที่เป็นซ็อกเก็ต LGA1366 (โมเดลที่ขึ้นต้นด้วยเลข 9) จะรองรับแรม DDR3 แบบ Tripple Channel ที่ความเร็วสูงสุด 1066MHz ในขณะที่ตัวที่เป็น LGA1156 (โมเดลที่ขึ้นต้นด้วยเลข 8) จะรองรับแรม DDR3 แบบ Dual Channel ที่ความเร็วสูงสุด 1333MHz นอกจากนั้นยังมีตัวควบคุม PCI Express 2.0 รวมมาไว้ให้ภายในตัวซีพียู จึงส่งผลให้เมื่อทำการเชื่อมต่อกราฟฟิกการ์ด 1 ใบจะได้ความเร็ว x16 และ x8/x8 ที่กราฟฟิกการ์ด 2 ใบครับ สำหรับการติดต่อสื่อสารกับระบบในส่วนอื่นๆ นั้นซีพียูที่เป็นซ็อกเก็ต LGA1366 นั้นจะใช้บัส QPI ทำงานที่ความเร็ว 2.4 GHz (4.8 GB/s) และสำหรับตัวโมเดลที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1156 นั้นจะใช้บัส DMI (2GB/s)
     สำหรับเทคโนโลยี Turbo Boost นั้นก็คือการโอเวอร์คล็อกแกนซีพียูที่กำลังได้รับการใช้งานโดยอัตโนมัติ ตัวเลขที่เห็นในตารางด้านล่างนั้นคือความเร็วสูงสุดที่ระบบสามารถทำการโอเวอร์คล็อกไปได้



Model Internal Clock Turbo Boost Tech. TDP (W) Max Temp (C) Voltage (V) Socket
 960  3.2GHz  3.46GHz  45nm  130  67.9  0.8 - 1.375 1366
 950  3.06GHz  3.32GHz  45nm  130  67.9  0.8 - 1.375 1366
 940  2.93GHz  3.2GHz  45nm  130  67.9  0.8 - 1.375 1366
 920  2.66GHz  2.93GHz  45nm  130  67.9  0.8 - 1.375 1366
 870  2.93GHz  3.6GHz  45nm  95  72.7  0.64 - 1.4 1156
 860s  2.53GHz  3.46GHz  45nm  82  76.7  0.65 - 1.4 1156
 860  2.8GHz  3.4GHz  45nm  95  72.7  0.65 - 1.4 1156


     ในขณะที่ตารางด้านล่างนั้นท่านผู้อ่านจะเห็น Core i7 Extreme สำหรับเดสก์ท้อปทั้งหมดที่ออกมาในตอนนี้ โมเดลเหล่านี้จะมี QPI ที่ทำงานเร็วกว่า (3.2GHz, 6.4GB/s) และได้รับการปลดล็อกตัวคูณมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว



Model Internal Clock Turbo Boost Tech. TDP (W) Max Temp (C) Voltage (V) Socket
 980X  3.33GHz  3.6GHz  32nm  130  67.9  0.8 - 1.375 1366
 975  3.33GHz  3.6GHz  45nm  130  67.9  0.8 - 1.375 1366
 965  3.2GHz  3.46GHz  45nm  130  67.9  0.8 - 1.375 1366



     TDP ย่อมาจาก Thermal Design Power ซึ่งก็คือปริมาณความร้อนสูงสุดที่ซีพียูจะปล่อยออกมาในขณะทำงานนั่นเอง โดยระบบระบายความร้อนของซีพียูนั้นจะต้องสามารถระบายความร้อนได้ทั้งหมดอย่างน้อยเท่ากับตัวเลข TDP ของซีพียูนั้นๆ

ซีพียูโน้ตบุ๊ก

     Core i7 ที่ใช้บนโน้ตบุ๊กนั้นจะใช้บนซ็อกเก็ต PGA988 ซึ่งมีคุณสมบัติหลักๆ เหมือนกับ Core i7 ที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1156 (Core i7-8xx) แทบจะทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นการรองรับแรม DDR3 แบบ Dual Channel (สัญญาณนาฬิกาสูงสุดที่สามารถรองรับได้จะชึ้นอยู่กับตัวซีพียูเป็นสำคัญ ดูคอลัมน์ memory เพิ่มเติมได้ในตารางด้านล่าง แต่โดยหลักๆ แล้วซีพียูโมเดลใดๆ ที่รองรับแรม DDR3 ได้สูงสุด 1333 MHz นั้นจะรองรับแรมที่มี่ความเร็ว 1066MHz ด้วย แต่จะไม่รองรับแรมที่ความเร็ว 800MHz แต่ซีพียูโมเดลที่รองรับแรม DDR3 ได้สูงสุด 1066MHz นั้นจะรองรับแรมที่ความเร็ว 800MHz ด้วย) มีตัวควบคุม PCI Express 2.0 มาให้แล้วในตัวซีพียู และใช้บัส DMI ครับ
     โมเดลซีพียูที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 6 นำหน้านั้นจะมีกราฟฟิกการ์ดที่รองรับ DirectX 10 มาให้ด้วยโดยจะมีความเร็วที่ 733MHz และมี Shader Processor มาให้ 12 ตัว


Model Internal Clock Turbo Boost Tech. Cores L3 Cache Memory TDP (W)
i7-820QM 1.73GHz 3.06GHz 45nm 4 8MB 1333MHz 45
i7-720QM 1.6GHz 3.28GHz 45nm 4 6MB 1333MHz 45
i7-640UM 1.2GHz 2.26GHz 32nm 2 4MB 800MHz 18
i7-640LM 2.13GHz 2.93GHz 32nm 2 4MB 1066MHz 25
i7-620UM 1.06GHz 2.13GHz 32nm 2 4MB 800MHz 18
i7-620M 2.66GHz 3.33GHz 32nm 2 4MB 1066MHz 35
i7-620M 2.66GHz 3.33GHz 32nm 2 4MB 1066MHz 35
i7-620LM 2.0GHz 2.8GHz 32nm 2 4MB 1066MHz 25


     ตารางด้านล่างนั้นคือ Core i7 Extreme Edition สำหรับโน้ตบุ๊กที่ได้รับการปลดล็อกตัวคูณมาให้เป็นที่เรียบร้อย

Model Internal Clock Turbo Boost L3 Cache Memory TDP (W) Max Temp.
 920XM  2.0GHz 3.2GHz 8MB 1333MHz 55 100



Core i5

Core i5 ซีพียูระดับกลางที่ยังแรงได้ใจ 


    Core i5 นั้นเป็นซีพียูชุดที่สองของ Intel ที่มีการรวมตัวควบคุมหน่วยความจำเข้ามาไว้ภายในตัวซีพียูเลย (Core i7 เป็นตัวแรก) และยีงคงมีการใช้สถาปัตยกรรม Nehalem อยู่เช่นเดิม ซีพียู Core i5 นั้นจะมาสองรูปแบบด้วยกันคือโมเดลที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1156 สำหรับเดสก์ท้อปและ PGA988 สำหรับโน้ตบุ๊ก
     คุณสมบัติหลักๆ ของ Core i5 นั้นยังคงมีพื้นฐานมาจาก Core i7 อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการรวมตัวควบคุมหน่วยความจำมาให้ในตัวซีพียู จึงทำให้ตัวซีพียูเองจะเป็นองค์ประกอบหลักในการทำหน้าที่กำหนดประเภทและปริมาณสูงสุดของหน่วยความจำที่สามารถใช้ได้ ซึ่งในที่นี้คือหน่วยความจำหรือแรม DDR3 แบบ Dual Channel ที่แรงดันไฟสูงสุด 1.6V ที่ความเร็ว 1066 และ 1333 MHz สำหรับเดสก์ท้อป และ 800 กับ 1066 MHz สำหรับโน้ตบุ๊ก
     นอกจากนั้น Core i5 ก็ยังคงมีตัวควบคุม PCI Express 2.0 ที่อยู่ภายในตัวซีพียูเองอีกด้วยเช่นเดียวกับ Core i7-8xx ที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1156 ซึ่งผู้ใช้งานสามารถใช้งานกราฟิกการ์ดที่อัตราการส่งข้อมูล x16 เมื่อมีการ์ดแค่ใบเดียว และ x8/x8 เมื่อใช้งานกราฟฟิกการ์ด 2 ใบ และเนื่องด้วยการที่มีตัวควบคุม PCI Express 2.0 ภายในตัวซีพียูมาแล้วนั่นเอง ทาง Intel ก็เลยใช้บัส DMI (Digital Media Interface) ซึ่งมีอัตราการรับส่งข้อมูลที่ 2GB/s เพื่อเชื่อมต่อการทำงานของซีพียูเข้ากับชิพเซ็ต
     แต่สิ่งที่พิเศษกว่าก็คือซีพียูในสาย Core i5 นั้นยังมีรุ่นย่อยที่ได้รับการผลิตโดยใช้กระบวนการ 32 นาโนเมตรอีกด้วย (รุ่นที่เป็น Core i5-6xx) ซึ่งมีกราฟฟิกชิพผูกติดมากับ die ของซีพียูเลย และกราฟฟิกชิพตัวนี้นั้นจะได้รับการควบคุมโดยตัวซีพียูเอง ไม่ใช่ชิพเซ็ตเหมือนกับกราฟฟิกชิพออนบอร์ดรุ่นที่แล้วๆ มา และที่สำคัญก็คือ Core i5-6xx นี้นั้นจะมีแกนซีพียูแท้ๆ เพียง 2 แกนเท่านั้นนะครับ ไม่ใช่ 4 แกน แต่ระบบจะเห็นเป็น 4 แกนเนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยี Hyper Threading นั่นเอง
     คุณสมบัติที่เหลือๆ นั้นส่วนใหญ่ก็คล้ายคลึงกับ Core i7 ไม่ว่าจะเป็นการมี base clock ที่ 133MHz มีเทคโนโลยี Turbo Boost และ Hyper Threading เป็นต้น
ซีพียูเดสก์ท้อป
     ตารางด้านล่างนั้นเป็นรายชื่อ Core i5 ทั้งหมดที่ได้มีการวางจำหน่ายในขณะนี้ โดยสิ่งที่อยากให้สังเกตนั่นคือโมเดลที่ขึ้นต้นด้วยเลข 6 นั้นจะมีแกนซีพียูจริงเพียง 2 แกน แต่ระบบจะเห็นเป็น 4 เนื่องจากเทคโนโลยี Hyper Threading ส่วนตัวที่ขึ้นต้นด้วยเลข 7 นั้นจะมีแกนซีพียูจริง 4 แกน แต่ไม่มีเทคโนโลยี Hyper Threading มาให้ด้วย นอกจากนั้น Core i5-6xx ที่ลงท้ายด้วยเลข 1 นั้นจะมีกราฟฟิกชิพมาให้ด้วยซึ่งทำงานที่ความเร็ว 900MHz ในชณะที่ Core i5-6xx ที่ลงท้ายด้วยเลข 0 นั้นกราฟฟิกชิพจะทำงานที่ความเร็ว 733MHz
Model
Internal Clock
Turbo Boost
Cores
HT
Video
L3 Cache
Tech.
TDP (W)
i5-750s
2.4GHz
3.2GHz
4
No
No
8MB
45nm
82
i5-750
2.66GHz
3.2GHz
4
No
No
8MB
45nm
95
i5-670
3.56GHz
3.73GHz
2
Yes
Yes
4MB
32nm
73
i5-661
3.33GHz
3.6GHz
2
Yes
Yes
4MB
32nm
87
i5-660
3.33GHz
3.6GHz
2
Yes
Yes
4MB
32nm
73
i5-650
3.2GHz
3.46GHz
2
Yes
Yes
4MB
32nm
73
ซีพียูโน้ตบุ๊ก
     เช่นเดียวกับซีพียู Core i7 บนโน้ตบุ๊ก Core i5 บนโน้ตบุ๊กนั้นยังใช้บนซ็อกเก็ต PGA988 และมีส่วนควบคุมหน่วยความจำ DDR3 แบบ Dual Channel มาให้เหมือนเดิม โมเดลซีพียูที่ออกมาในขณะนี้นั้นยังสนับสนุนความเร็วของหน่วยความจำที่ 800 และ 1066MHz และก็มีส่วนควบคุม PCIe 2.0 ซึ่งรองรับอุปกรณ์ที่ความเร็วบัส 16x และมีกราฟฟิกการ์ดมาให้ซึ่งวิ่งที่ความเร็ว 500MHz

Model
Internal Clock
Turbo Boost
Cores
HT
Tech.
L3 Cace
TDP (W)
Max. Temp.
i5-540M
2.53GHz
3.06GHz
2
Yes
32nm
3MB
35
105
i5-540M
2.53GHz
3.06GHz
2
Yes
32nm
3MB
35
105
i5-520M
2.4GHz
2.93GHz
2
Yes
32nm
3MB
35
105
i5-520M
2.4GHz
2.93GHz
2
Yes
32nm
3MB
35
105
i5-430M
2.26GHz
2.93GHz
2
Yes
32nm
3MB
35
105
i5-430M
2.26GHz
2.93GHz
2
Yes
32nm
3MB
35
105

Core i3

Core i3 ขวัญใจสำหรับคนงบน้อย

     สำหรับ Core i3 นั้นทาง Intel ตั้งใจวางไว้สำหรับตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ราคาประหยัดโดยเฉพาะ ซึ่งซีพียูตระกูลนี้นั้นเป็นซีพียูจาก Intel ชุดที่สามที่มีการรวมชุดควบคุมหน่วยความจำมาไว้ในตัวซีพียูเลย (Core i7 และ i5 เป็นชุดแรกและชุดที่สองตามลำดับ) และก็เช่นเดียวกับซีพียูสองชุดก่อนหน้าสถาปัตยกรรม Nehalem ที่ใช้บน Core i3 นั้นได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจาก Core 2 Duo และ Core 2 Quad ด้วยเหตุนี้จึงยังคงใช้บนซ็อกเก็ต LGA1156 และ สำหรับเดสก์ท้อป และ PGA988 สำหรับโน้ตบุ๊กเหมือนเดิม
     โครงสร้าง และคุณสมบัติของ Core i3 นั้นหลักๆ ยังคงเหมือนกับ Core i7 และ i5 โดยมีการรวมส่วนควบคุมหน่วยความจำไปอยู่ภายในซีพียูเลย ผลที่ได้คือตัวซีพียูเอง (ไม่ใช่ชิพเซ็ตเหมือนแต่ก่อน) ที่จะเป็นตัวกำหนดว่าระบบจะสามารถใช้หน่วยความจำประเภทใดหรือปริมาณเท่าไร โดยส่วนควบคุมหน่วยความจำดังกล่าวนั้นรองรับแรม DDR3 ที่แรงดันไฟสูงสุด 1.6v แบบ Dual-Channel ที่ความเร็ว 1066 และ 1333MHz สำหรับเดสก์ท้อป สำหรับโมเดลบนโน้ตบุ๊กนั้นจะรองรับความเร็วแรมที่ 800 และ 1066MHz
     นอกจากนั้นภายในตัวซีพียูก็ยังมีส่วนควบคุม PCI Express 2.0 ซึ่งรองรับการเชื่อมต่อที่ความเร็ว 16x และด้วยเหตนี้นั่นเองที่ทาง Intel ได้ตัดสินใจใช้ DMI (Digital Media Interface) ที่มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 2GB/ เพื่อเป็นช่องทางสำหรับซีพียูในการติดต่อสื่อสารกับตัวชิพเซ็ต
     Core i3 ทั้งหมดนั้นจะใช้เทคโนโลยี 32 นาโนเมตรในการผลิตและมีกราฟฟิกชิพติดตั้งมาให้แล้วซึ่งควบคุมโดยตัวซีพียูเอง และสำหรับ base clock ของ Core i3 นั้นยังคงอยู่ที่ 133MHz เช่นเดิม แต่สิ่งที่เป็นจุดด้อยของซีพียู Core i3 ทุกรุ่นนั่นคือการที่ไม่มีเทคโนโลยี Turbo Boost มาให้ด้วยครับ
ซีพียูเดสก์ท้อป
     ตารางด้านล่างเป็นรายชื่อซีพียู Core i3 สำหรับเดสก์ท้อปเท่าที่ออกมาล่าสุด โดยส่วนควบคุมหน่วยความจำที่ได้รับการรวมเข้ามาไว้ในตัวซีพียูนั้นจะรองรับความเร็วสูงสุดที่ 1333MHz บนแรมแบบ DDR3 สำหรับส่วนควบคุม PCIe 2.0 นั้นจะรองรับการเชื่อมต่อกราฟฟิกการ์ดที่ความเร็ว 16x สำหรับการติดต่อสื่สารกับชิพเซ็ตบนเมนบอร์ดนั้นจะผ่านทางบัส DMI ที่ความเร็ว 2GB/s และซีพียูทั้งหมดนั้นจะมีชิพกราฟฟิกซึ่งทำงานที่ความเร็ว 733MHz รวมมาให้ด้วย นอกจากนั้นก็ยังรองรับเทคโนโลยี Hyper Threading เช่นเคย จึงทำให้ระบบมองเห็นแกนซีพียูเป็นทั้งหมด 4 แกนจำลองครับ
Model
Internal Clock
Cores
HT
Video
L3 Cache
Tech.
TDP (W)
Max. Temp. (C)
i3-540
3.06GHz
2
Yes
Yes
4MB
32nm
73
72.6
i3-530
2.93GHz
2
Yes
Yes
4MB
32nm
73
72.6
ซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊ก
     Core i3 สำหรับโน้ตบุ๊กนั้นจะใช้ซ็อกเก็ต PGA988 สำหรับส่วนควบคุมหน่วยความจำนั้นจะรองรับแรม DDR3 ที่ความเร็ว 800 และ 1066MHz และก็เช่นเดียวกับโมเดลบนเดสก์ท้อปที่ส่วนควบคุม PCIe 2.0 นั้นจะรองรับการรับส่งข้อมูลที่ 16x และชิพกราฟฟิกที่รวมมาให้ด้วยนั้นจะทำงานที่ความเร็ว 500MHz
Model
Internal Clock
Cores
HT
Tech.
L3 Cache
TDP (W)
Max. Temps (C)
i3-350M
2.26GHz
2
Yes
32nm
3MB
35
90
i3-330M
2.13GHz
2
Yes
32nm
3MB
35
90
สรุป
     ก็จบไปกันแล้วนะครับสำหรับบทความไขข้อข้องใจซีพียู Core I ในครั้งนี้ ก็หวังว่าเพื่อนๆ ท่านผู้ท่านทุกคนคงจะได้รับประโยชน์ไปบ้าง อย่างน้อยๆ ก็อาจเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการอัพเกรดคอมพิวเตอร์ในปีนี้ ถ้าเพื่อนๆ ถูกใจกับบทความประเภทนี้ ไว้คราวหน้าผมจะเขียนถึงซีพียูของฝั่ง AMD บ้างนะครับ