วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Core i3

Core i3 ขวัญใจสำหรับคนงบน้อย

     สำหรับ Core i3 นั้นทาง Intel ตั้งใจวางไว้สำหรับตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ราคาประหยัดโดยเฉพาะ ซึ่งซีพียูตระกูลนี้นั้นเป็นซีพียูจาก Intel ชุดที่สามที่มีการรวมชุดควบคุมหน่วยความจำมาไว้ในตัวซีพียูเลย (Core i7 และ i5 เป็นชุดแรกและชุดที่สองตามลำดับ) และก็เช่นเดียวกับซีพียูสองชุดก่อนหน้าสถาปัตยกรรม Nehalem ที่ใช้บน Core i3 นั้นได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจาก Core 2 Duo และ Core 2 Quad ด้วยเหตุนี้จึงยังคงใช้บนซ็อกเก็ต LGA1156 และ สำหรับเดสก์ท้อป และ PGA988 สำหรับโน้ตบุ๊กเหมือนเดิม
     โครงสร้าง และคุณสมบัติของ Core i3 นั้นหลักๆ ยังคงเหมือนกับ Core i7 และ i5 โดยมีการรวมส่วนควบคุมหน่วยความจำไปอยู่ภายในซีพียูเลย ผลที่ได้คือตัวซีพียูเอง (ไม่ใช่ชิพเซ็ตเหมือนแต่ก่อน) ที่จะเป็นตัวกำหนดว่าระบบจะสามารถใช้หน่วยความจำประเภทใดหรือปริมาณเท่าไร โดยส่วนควบคุมหน่วยความจำดังกล่าวนั้นรองรับแรม DDR3 ที่แรงดันไฟสูงสุด 1.6v แบบ Dual-Channel ที่ความเร็ว 1066 และ 1333MHz สำหรับเดสก์ท้อป สำหรับโมเดลบนโน้ตบุ๊กนั้นจะรองรับความเร็วแรมที่ 800 และ 1066MHz
     นอกจากนั้นภายในตัวซีพียูก็ยังมีส่วนควบคุม PCI Express 2.0 ซึ่งรองรับการเชื่อมต่อที่ความเร็ว 16x และด้วยเหตนี้นั่นเองที่ทาง Intel ได้ตัดสินใจใช้ DMI (Digital Media Interface) ที่มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 2GB/ เพื่อเป็นช่องทางสำหรับซีพียูในการติดต่อสื่อสารกับตัวชิพเซ็ต
     Core i3 ทั้งหมดนั้นจะใช้เทคโนโลยี 32 นาโนเมตรในการผลิตและมีกราฟฟิกชิพติดตั้งมาให้แล้วซึ่งควบคุมโดยตัวซีพียูเอง และสำหรับ base clock ของ Core i3 นั้นยังคงอยู่ที่ 133MHz เช่นเดิม แต่สิ่งที่เป็นจุดด้อยของซีพียู Core i3 ทุกรุ่นนั่นคือการที่ไม่มีเทคโนโลยี Turbo Boost มาให้ด้วยครับ
ซีพียูเดสก์ท้อป
     ตารางด้านล่างเป็นรายชื่อซีพียู Core i3 สำหรับเดสก์ท้อปเท่าที่ออกมาล่าสุด โดยส่วนควบคุมหน่วยความจำที่ได้รับการรวมเข้ามาไว้ในตัวซีพียูนั้นจะรองรับความเร็วสูงสุดที่ 1333MHz บนแรมแบบ DDR3 สำหรับส่วนควบคุม PCIe 2.0 นั้นจะรองรับการเชื่อมต่อกราฟฟิกการ์ดที่ความเร็ว 16x สำหรับการติดต่อสื่สารกับชิพเซ็ตบนเมนบอร์ดนั้นจะผ่านทางบัส DMI ที่ความเร็ว 2GB/s และซีพียูทั้งหมดนั้นจะมีชิพกราฟฟิกซึ่งทำงานที่ความเร็ว 733MHz รวมมาให้ด้วย นอกจากนั้นก็ยังรองรับเทคโนโลยี Hyper Threading เช่นเคย จึงทำให้ระบบมองเห็นแกนซีพียูเป็นทั้งหมด 4 แกนจำลองครับ
Model
Internal Clock
Cores
HT
Video
L3 Cache
Tech.
TDP (W)
Max. Temp. (C)
i3-540
3.06GHz
2
Yes
Yes
4MB
32nm
73
72.6
i3-530
2.93GHz
2
Yes
Yes
4MB
32nm
73
72.6
ซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊ก
     Core i3 สำหรับโน้ตบุ๊กนั้นจะใช้ซ็อกเก็ต PGA988 สำหรับส่วนควบคุมหน่วยความจำนั้นจะรองรับแรม DDR3 ที่ความเร็ว 800 และ 1066MHz และก็เช่นเดียวกับโมเดลบนเดสก์ท้อปที่ส่วนควบคุม PCIe 2.0 นั้นจะรองรับการรับส่งข้อมูลที่ 16x และชิพกราฟฟิกที่รวมมาให้ด้วยนั้นจะทำงานที่ความเร็ว 500MHz
Model
Internal Clock
Cores
HT
Tech.
L3 Cache
TDP (W)
Max. Temps (C)
i3-350M
2.26GHz
2
Yes
32nm
3MB
35
90
i3-330M
2.13GHz
2
Yes
32nm
3MB
35
90
สรุป
     ก็จบไปกันแล้วนะครับสำหรับบทความไขข้อข้องใจซีพียู Core I ในครั้งนี้ ก็หวังว่าเพื่อนๆ ท่านผู้ท่านทุกคนคงจะได้รับประโยชน์ไปบ้าง อย่างน้อยๆ ก็อาจเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการอัพเกรดคอมพิวเตอร์ในปีนี้ ถ้าเพื่อนๆ ถูกใจกับบทความประเภทนี้ ไว้คราวหน้าผมจะเขียนถึงซีพียูของฝั่ง AMD บ้างนะครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น