วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Core i5

Core i5 ซีพียูระดับกลางที่ยังแรงได้ใจ 


    Core i5 นั้นเป็นซีพียูชุดที่สองของ Intel ที่มีการรวมตัวควบคุมหน่วยความจำเข้ามาไว้ภายในตัวซีพียูเลย (Core i7 เป็นตัวแรก) และยีงคงมีการใช้สถาปัตยกรรม Nehalem อยู่เช่นเดิม ซีพียู Core i5 นั้นจะมาสองรูปแบบด้วยกันคือโมเดลที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1156 สำหรับเดสก์ท้อปและ PGA988 สำหรับโน้ตบุ๊ก
     คุณสมบัติหลักๆ ของ Core i5 นั้นยังคงมีพื้นฐานมาจาก Core i7 อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการรวมตัวควบคุมหน่วยความจำมาให้ในตัวซีพียู จึงทำให้ตัวซีพียูเองจะเป็นองค์ประกอบหลักในการทำหน้าที่กำหนดประเภทและปริมาณสูงสุดของหน่วยความจำที่สามารถใช้ได้ ซึ่งในที่นี้คือหน่วยความจำหรือแรม DDR3 แบบ Dual Channel ที่แรงดันไฟสูงสุด 1.6V ที่ความเร็ว 1066 และ 1333 MHz สำหรับเดสก์ท้อป และ 800 กับ 1066 MHz สำหรับโน้ตบุ๊ก
     นอกจากนั้น Core i5 ก็ยังคงมีตัวควบคุม PCI Express 2.0 ที่อยู่ภายในตัวซีพียูเองอีกด้วยเช่นเดียวกับ Core i7-8xx ที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1156 ซึ่งผู้ใช้งานสามารถใช้งานกราฟิกการ์ดที่อัตราการส่งข้อมูล x16 เมื่อมีการ์ดแค่ใบเดียว และ x8/x8 เมื่อใช้งานกราฟฟิกการ์ด 2 ใบ และเนื่องด้วยการที่มีตัวควบคุม PCI Express 2.0 ภายในตัวซีพียูมาแล้วนั่นเอง ทาง Intel ก็เลยใช้บัส DMI (Digital Media Interface) ซึ่งมีอัตราการรับส่งข้อมูลที่ 2GB/s เพื่อเชื่อมต่อการทำงานของซีพียูเข้ากับชิพเซ็ต
     แต่สิ่งที่พิเศษกว่าก็คือซีพียูในสาย Core i5 นั้นยังมีรุ่นย่อยที่ได้รับการผลิตโดยใช้กระบวนการ 32 นาโนเมตรอีกด้วย (รุ่นที่เป็น Core i5-6xx) ซึ่งมีกราฟฟิกชิพผูกติดมากับ die ของซีพียูเลย และกราฟฟิกชิพตัวนี้นั้นจะได้รับการควบคุมโดยตัวซีพียูเอง ไม่ใช่ชิพเซ็ตเหมือนกับกราฟฟิกชิพออนบอร์ดรุ่นที่แล้วๆ มา และที่สำคัญก็คือ Core i5-6xx นี้นั้นจะมีแกนซีพียูแท้ๆ เพียง 2 แกนเท่านั้นนะครับ ไม่ใช่ 4 แกน แต่ระบบจะเห็นเป็น 4 แกนเนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยี Hyper Threading นั่นเอง
     คุณสมบัติที่เหลือๆ นั้นส่วนใหญ่ก็คล้ายคลึงกับ Core i7 ไม่ว่าจะเป็นการมี base clock ที่ 133MHz มีเทคโนโลยี Turbo Boost และ Hyper Threading เป็นต้น
ซีพียูเดสก์ท้อป
     ตารางด้านล่างนั้นเป็นรายชื่อ Core i5 ทั้งหมดที่ได้มีการวางจำหน่ายในขณะนี้ โดยสิ่งที่อยากให้สังเกตนั่นคือโมเดลที่ขึ้นต้นด้วยเลข 6 นั้นจะมีแกนซีพียูจริงเพียง 2 แกน แต่ระบบจะเห็นเป็น 4 เนื่องจากเทคโนโลยี Hyper Threading ส่วนตัวที่ขึ้นต้นด้วยเลข 7 นั้นจะมีแกนซีพียูจริง 4 แกน แต่ไม่มีเทคโนโลยี Hyper Threading มาให้ด้วย นอกจากนั้น Core i5-6xx ที่ลงท้ายด้วยเลข 1 นั้นจะมีกราฟฟิกชิพมาให้ด้วยซึ่งทำงานที่ความเร็ว 900MHz ในชณะที่ Core i5-6xx ที่ลงท้ายด้วยเลข 0 นั้นกราฟฟิกชิพจะทำงานที่ความเร็ว 733MHz
Model
Internal Clock
Turbo Boost
Cores
HT
Video
L3 Cache
Tech.
TDP (W)
i5-750s
2.4GHz
3.2GHz
4
No
No
8MB
45nm
82
i5-750
2.66GHz
3.2GHz
4
No
No
8MB
45nm
95
i5-670
3.56GHz
3.73GHz
2
Yes
Yes
4MB
32nm
73
i5-661
3.33GHz
3.6GHz
2
Yes
Yes
4MB
32nm
87
i5-660
3.33GHz
3.6GHz
2
Yes
Yes
4MB
32nm
73
i5-650
3.2GHz
3.46GHz
2
Yes
Yes
4MB
32nm
73
ซีพียูโน้ตบุ๊ก
     เช่นเดียวกับซีพียู Core i7 บนโน้ตบุ๊ก Core i5 บนโน้ตบุ๊กนั้นยังใช้บนซ็อกเก็ต PGA988 และมีส่วนควบคุมหน่วยความจำ DDR3 แบบ Dual Channel มาให้เหมือนเดิม โมเดลซีพียูที่ออกมาในขณะนี้นั้นยังสนับสนุนความเร็วของหน่วยความจำที่ 800 และ 1066MHz และก็มีส่วนควบคุม PCIe 2.0 ซึ่งรองรับอุปกรณ์ที่ความเร็วบัส 16x และมีกราฟฟิกการ์ดมาให้ซึ่งวิ่งที่ความเร็ว 500MHz

Model
Internal Clock
Turbo Boost
Cores
HT
Tech.
L3 Cace
TDP (W)
Max. Temp.
i5-540M
2.53GHz
3.06GHz
2
Yes
32nm
3MB
35
105
i5-540M
2.53GHz
3.06GHz
2
Yes
32nm
3MB
35
105
i5-520M
2.4GHz
2.93GHz
2
Yes
32nm
3MB
35
105
i5-520M
2.4GHz
2.93GHz
2
Yes
32nm
3MB
35
105
i5-430M
2.26GHz
2.93GHz
2
Yes
32nm
3MB
35
105
i5-430M
2.26GHz
2.93GHz
2
Yes
32nm
3MB
35
105

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น