วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Quad core

quad core คือ คำที่ใช้เรียก CPU ที่มี 4 คอร์ครับ
ส่วน dual core คือ คำที่ใช้เรียก CPU ที่มี 2 คอร์ครับ
quad core แรงกว่า dual core
dual core คือ cpu ที่มีหน่วยประมวลผลภายในทำงานพร้อมกัน 2 หน่วย และ quad core มี 4 หน่วย เรียกรวมๆ cpu ที่มีหลาย core ว่า multi core ใน cpu multi core นี้ แต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น ก็มีสถาปัตยกรรม หรือรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป
Quad-Core = จริงๆมันคือ ชื่อเรียก CPU ที่มี 4 Core
Quad Core ในตลาดเซิร์ฟเวอร์
สำหรับตลาดของเซิร์ฟเวอร์ที่เอเอ็มดีกำลังมีความสุขมากๆ เพราะมีสัดส่วนในตลากเพิ่มขึ้นเรื่อง หลังจากที่บรรดาเครื่องเซิร์ฟเวอร์แบรน์ระดับโลกอย่าง HP, IBM และ DELL ได้นำซีพียู Opteron มาใช้ในเซิร์ฟเวอร์ของตน



ซีพียู Opteron แบบ Quad Core ของเอเอ็มดีนั้นก็คือซีพียูที่มีชื่อรหัสเดิมว่า Barcelona หรือถ้าจะเรียกเป็นเวอร์ชันของซีพียูก็จะเรียกกันว่า K8L นั่นเอง ถ้าใครติดตาม QuickPC มาเป็นประจำก็คงจะได้ทราบเกี่ยวกับคุณสมบัติเบื้องต้นของซีพียู K8L กันไปบ้างแล้ว
สำหรับจุดขายประการแรกของ Quad Core Opteron ที่เอเอ็มดีประกาศออกมาก็คือเป็นซีพียู Quad Core ที่แท้จริง เพราะเป็นซีพียูที่สร้างมาแบบมี 4 แกนประมวลผลบน Die ชิ้นเดียว ในขณะที่ Quad Core ของอินเทลเป็นการนำ Die ที่มีแกนประมวลผล 2 ตัว จำนวนสองชุดมาติดตั้งในตัวแพกเกจเดียวกัน ซึ่งผมคิดว่าอีกไม่นานตามเว็บบอร์ดต่าง ๆ ก็จะทีการถกเถียงกันอีกว่า Quad Core จริงกับไม่จริงมันเป็นยังไง

Core i7

Core i7 ที่สุดสำหรับความแรงในวันนี้ 


     Core i7 เป็นซีพียูตัวแรกจาก Intel ที่มีการรวมส่วนควบคุมหน่วยความจำ (Memory Controller) เข้าไว้ในตัวซีพียูเลย ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ทาง AMD ได้นำไปใส่ไว้ในซีพียู Athlon 64 ตั้งแต่เมื่อนานนมมาแล้ว โดยสถาปัตยกรรม Nehalem ที่ใช้ใน Core i7 นั้นได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากสถาปัตยกรรม Core ที่ใช้ใน Core 2 Duo และ Core 2 Quad แต่ได้เพิ่มคุณสมบัติใหม่ๆ เข้าไปไว้ด้วย Core i7 นั้นมาในรูปแบบ 3 ซ็อกเก็ตด้วยกันได้แก่ LGA1366 (Core i7-9xx ซึ่งใช้สถาปัตยกรรมหน่วยความจำแบบ Tripple Channel และมีบัสแบบ QPI), LGA1156 (Core i7-8xx ซึ่งใช้สถาปัตยกรรมหน่วยความจำแบบ Dual Channel, มีตัวควบคุม PCI Express 2.0 รวมมาด้วย และใช้บัส DMI) และสุดท้ายคือ PGA988 สำหรับโน้ตบุ๊ก (มีสเปคแบบเดียวกับ LGA1156)
     แต่เดิมทีนั้นซีพียูจาก Intel จะใช้คัวควบคุมหน่วยความจำภายนอกที่อยู่ภายในชิพ North Bridge (รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งคือ Memory Controller Hub หรือ MCH) ซึ่งหมายความว่าซีพียูใดก็ตามที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบนี้ ชิพเซ็ตจะเป็นตัวที่ทำหน้าที่กำหนดประเภทและปริมาณของหน่วยความจำที่ใช้ได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น แต่ในเมื่อ Core i7 มีการรวมตัวควบคุมหน่วยความจำเข้าไปไว้ในตัวซีพียูแล้ว ตัวซีพียูเอง (ไม่ใช่ชิพเซ็ต) จะเป็นผู้ทำหน้าที่กำหนดว่าท่านสามารถจะใส่หน่วยความจำแบบใดและปริมาณเท่าไรลงไปในเครื่องได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นตัวเมนบอร์ดเองก็อาจมีส่วนด้วยเหมือนกันในการกำหนดปริมาณสูงสุดของหน่วยความจำที่สามารถใส่ลงไปได้ ตัวควบคุมหน่วยความจำที่อยู่ใน Core i7 นั้นรองรับแรมเฉพาะแบบ DDR3 เท่านั้น (ที่แรงดันไฟสูงสุด 1.6V ฉะนั้นแล้วแรมตัวใดก็ตามที่ใช้ไฟมากกว่านี้จะไม่สามารถทำงานร่วมกับซีพียูได้ และอาจสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นกับตัวซีพียูได้ถ้ายังขืนใช้) ซีพียู Core i7-9xx ซึ่งเป็นแบบซ็อกเก็ต LGA1366 นั้นจะใช้แรมแบบ Tripple Channel ที่ความเร็วบัส 800 และ 1066MHz ในขณะที่ Core i7-8xx ที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1156 และซ็อกเก็ต 988 บนโน้ตบุ๊กนั้นจะรองรับแรมแบบ DDR3 แบบ Dual Channel ที่ความเร็วบัส 800, 1066 และ 1333MHz ครับ
     โดยสถาปัตยกรรมหน่วยความจำแบบ DDR3 ที่เป็น Tripple Channel บนซีพียู Core i7-9xx นั้นจะอนุญาตให้ซีพียูเข้าถึงแรมทั้งสามตัวที่ติดตั้งอยู่ได้พร้อมๆ กันเพื่อทำการเขียนหรือเก็บข้อมูลบนแรมชุดดังกล่าว ซึ่งความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ได้ต่อช่วงหนึ่งลูกคลื่นสัญญาณนาฬิกาที่มีหน่วยวัดเป็นบิท (bit) นั้นจะเพิ่มขึ้นจาก 128 (ในแรมแบบ Dual Channel) ไปเป็น 192 โดยในทางทฤษฎีแล้วแรมแบบ Tripple Channel จะมีแบนวิธเพิ่มขึ้นถึงกว่า 50% เมื่อเทียบกับแรมแบบ Dual Channel ที่ความเร็วสัญญาณนาฬิกาของแรมที่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น แรม DDR3 ที่ความเร็ว 1066MHz นั้นจะมีอัตราการรับส่งข้อมูลสูงสุดที่ 17GB/s ในขณะที่ถ้าติดตั้งเป็นแบบ Tripple Channel แล้วจะมีอัตราการรับส่งข้อมูลสูงสุดเพิ่มขึ้นเป็น 25.5GB/s เป็นต้น
     Core i7-8xx ที่ใช้ซ็อกเก็ตแบบ LGA1366 นั้นจะติดต่อสื่อสารกับระบบในส่วนที่เหลือโดยใช้บัสแบบใหม่ที่เรียกว่า QPI (Quickpath Interconnect) โดยบัสตัวนี้ทำงานที่ความเร็ว 2.4GHz (4.8GB/s) บน Core i7 ธรรมดา และ 3.2GHz (6.4GB/s) บน Core i7 Extreme สำหรับซีพียู Core i7-8xx ที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1156 และ 988 บนโน้ตบุ๊กนั้นจะมีส่วนควบคุม PCI Express 2.0 รวมมาให้ไว้ด้วย หน้าที่หลักของมันนั้นคือทำให้กราฟฟิกการ์ดสามารถติดต่อสื่อสารกับซีพียูได้โดยตรงนั่นเอง ซึ่งในทางทฤษฏีสามารถเพิ่มปริมาณแบนวิธการรับส่งข้อมูลได้ นอกจากนั้น ตัวซีพียู Core i7-8xx ดังกล่าวจะสามารถเข้าถึงกราฟฟิกการ์ดตัวเดียวที่ความเร็ว x16 ในขณะที่ถ้าต่อการ์ดเชื่อมกันสองใบอัตราการเข้าถึงข้อมูลจะลดลงมาที่ x8/x8 และเนื่องจากการที่โมเดลซีพียูเหล่านี้มีตัวควบคุม PCI Express 2.0 รวมมาไว้ให้ในตัวซีพียูแล้ว ทาง Intel ได้ตัดสินใจใช้บัสที่มีการลดความเร็วลงที่เรียกว่า DMI (Digital Media Interface) ซึ่งทำงานที่ความเร็ว 2GB/s ในการเชื่อมตัวซีพียูเข้ากับชิพเซ็ต (แทนที่จะเป็น QPI ที่ใช้บนซีพียู Core i7-9xx บนซ็อกเก็ต LGA1366) อย่างไรก็ตามแบนวิธการรับส่งข้อมูลที่น้อยกว่านั้นไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด เนื่องด้วยการที่ QPI มีแบนวิธมากกว่านั้นเป็นเพราะว่าตัวซีพียูต้องทำการสื่อสารกับตัวควบคุม PCI Express 2.0 ที่อยู่บนชิพ North Bridge นั่นเอง แต่เนื่องจากซีพียู Core i7 ที่เป็นซ็อกเก็ต 1156 และ 988 นั้นได้มีการรวมตัวควบคุม PCI Express 2.0 เอาไว้บนตัวซีพียูแล้ว จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องพึ่งแบนวิธที่สูงมากแต่อย่างใดในการทำงานครับ
     ความเหมือนที่สถาปัตยกรรม Core i7 มีเหมือนกับของทาง AMD นั่นคือซีพียูทุกตัวในตระกูลนี้มีส่วนที่เรียกว่า base clock นั่นเอง ซึ่งจะอยู่ที่ 133MHz ในซีพียูทุกๆ ตัว
     นอกจากนั้น Core i7 ทุกตัวจะมีคุณสมบัติที่เรียกว่า Turbo Boost ซึ่งก็คือฟังชั่นการโอเวอร์คล็อกแกนซีพียูที่กำลังถูกใช้งานอยู่โดยอัตโนมัตินั่นเอง
     คุณสมบัติอีกตัวหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับ Core i7 นั่นก็คือเทคโนโลยี Hyper Threading ซึ่งจะทำการจำลองแกนซีพียูเพิ่มขึ้นมา 2 ตัวสำหรับทุกๆ แกนการประมวลผล ยกตัวอย่างเช่น Core i7-920 มีจำนวนแกนจริงๆ ทั้งหมด 4 แกน แต่เมื่อรวมคุณสมบัติ Hyper Threading ไปด้วยแล้วระบบปฏิบัติการจะเห็นแกนซีพียูเป็นทั้งหมด 8 แกนจำลอง (เรียกอีกอย่างว่า Thread) เป็นต้น
     Core i7 Extreme นั้นเป็นซีพียูที่แรงและแพงที่สุดของ Core i7 ทั้งหมดแล้ว โดยรุ่นสูงสุดในปัจจุบันนั้นคือ Core i7-980X Extreme Edition ซึ่งมี 6 แกน/12เธรด ซึ่งใช้กระบวนการผลิต 32 นาโนเมตร โดยความต่างของตัว Extreme Edition นั้นจะอยู่ที่ตัวซีพียูได้รับการปลดล็อคตัวคูณมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนั้นยังมีความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่มากกว่ารุ่นอื่นๆ รวมทั้งมีการใช้บัส QPI
ซีพียูเดสก์ท้อป
     ด้านล่างนั้นท่านผู้อ่านจะเห็นตารางของซีพียู Core i7 ในแต่ละรุ่นทั้งหมดเท่าที่มีการออกวางจำหน่ายในตอนนี้ครับ ซึ่งก็อย่างที่ได้อธิบายไปแล้วว่า ตัวเป็นที่เป็นซ็อกเก็ต LGA1366 (โมเดลที่ขึ้นต้นด้วยเลข 9) จะรองรับแรม DDR3 แบบ Tripple Channel ที่ความเร็วสูงสุด 1066MHz ในขณะที่ตัวที่เป็น LGA1156 (โมเดลที่ขึ้นต้นด้วยเลข 8) จะรองรับแรม DDR3 แบบ Dual Channel ที่ความเร็วสูงสุด 1333MHz นอกจากนั้นยังมีตัวควบคุม PCI Express 2.0 รวมมาไว้ให้ภายในตัวซีพียู จึงส่งผลให้เมื่อทำการเชื่อมต่อกราฟฟิกการ์ด 1 ใบจะได้ความเร็ว x16 และ x8/x8 ที่กราฟฟิกการ์ด 2 ใบครับ สำหรับการติดต่อสื่อสารกับระบบในส่วนอื่นๆ นั้นซีพียูที่เป็นซ็อกเก็ต LGA1366 นั้นจะใช้บัส QPI ทำงานที่ความเร็ว 2.4 GHz (4.8 GB/s) และสำหรับตัวโมเดลที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1156 นั้นจะใช้บัส DMI (2GB/s)
     สำหรับเทคโนโลยี Turbo Boost นั้นก็คือการโอเวอร์คล็อกแกนซีพียูที่กำลังได้รับการใช้งานโดยอัตโนมัติ ตัวเลขที่เห็นในตารางด้านล่างนั้นคือความเร็วสูงสุดที่ระบบสามารถทำการโอเวอร์คล็อกไปได้



Model Internal Clock Turbo Boost Tech. TDP (W) Max Temp (C) Voltage (V) Socket
 960  3.2GHz  3.46GHz  45nm  130  67.9  0.8 - 1.375 1366
 950  3.06GHz  3.32GHz  45nm  130  67.9  0.8 - 1.375 1366
 940  2.93GHz  3.2GHz  45nm  130  67.9  0.8 - 1.375 1366
 920  2.66GHz  2.93GHz  45nm  130  67.9  0.8 - 1.375 1366
 870  2.93GHz  3.6GHz  45nm  95  72.7  0.64 - 1.4 1156
 860s  2.53GHz  3.46GHz  45nm  82  76.7  0.65 - 1.4 1156
 860  2.8GHz  3.4GHz  45nm  95  72.7  0.65 - 1.4 1156


     ในขณะที่ตารางด้านล่างนั้นท่านผู้อ่านจะเห็น Core i7 Extreme สำหรับเดสก์ท้อปทั้งหมดที่ออกมาในตอนนี้ โมเดลเหล่านี้จะมี QPI ที่ทำงานเร็วกว่า (3.2GHz, 6.4GB/s) และได้รับการปลดล็อกตัวคูณมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว



Model Internal Clock Turbo Boost Tech. TDP (W) Max Temp (C) Voltage (V) Socket
 980X  3.33GHz  3.6GHz  32nm  130  67.9  0.8 - 1.375 1366
 975  3.33GHz  3.6GHz  45nm  130  67.9  0.8 - 1.375 1366
 965  3.2GHz  3.46GHz  45nm  130  67.9  0.8 - 1.375 1366



     TDP ย่อมาจาก Thermal Design Power ซึ่งก็คือปริมาณความร้อนสูงสุดที่ซีพียูจะปล่อยออกมาในขณะทำงานนั่นเอง โดยระบบระบายความร้อนของซีพียูนั้นจะต้องสามารถระบายความร้อนได้ทั้งหมดอย่างน้อยเท่ากับตัวเลข TDP ของซีพียูนั้นๆ

ซีพียูโน้ตบุ๊ก

     Core i7 ที่ใช้บนโน้ตบุ๊กนั้นจะใช้บนซ็อกเก็ต PGA988 ซึ่งมีคุณสมบัติหลักๆ เหมือนกับ Core i7 ที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1156 (Core i7-8xx) แทบจะทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นการรองรับแรม DDR3 แบบ Dual Channel (สัญญาณนาฬิกาสูงสุดที่สามารถรองรับได้จะชึ้นอยู่กับตัวซีพียูเป็นสำคัญ ดูคอลัมน์ memory เพิ่มเติมได้ในตารางด้านล่าง แต่โดยหลักๆ แล้วซีพียูโมเดลใดๆ ที่รองรับแรม DDR3 ได้สูงสุด 1333 MHz นั้นจะรองรับแรมที่มี่ความเร็ว 1066MHz ด้วย แต่จะไม่รองรับแรมที่ความเร็ว 800MHz แต่ซีพียูโมเดลที่รองรับแรม DDR3 ได้สูงสุด 1066MHz นั้นจะรองรับแรมที่ความเร็ว 800MHz ด้วย) มีตัวควบคุม PCI Express 2.0 มาให้แล้วในตัวซีพียู และใช้บัส DMI ครับ
     โมเดลซีพียูที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 6 นำหน้านั้นจะมีกราฟฟิกการ์ดที่รองรับ DirectX 10 มาให้ด้วยโดยจะมีความเร็วที่ 733MHz และมี Shader Processor มาให้ 12 ตัว


Model Internal Clock Turbo Boost Tech. Cores L3 Cache Memory TDP (W)
i7-820QM 1.73GHz 3.06GHz 45nm 4 8MB 1333MHz 45
i7-720QM 1.6GHz 3.28GHz 45nm 4 6MB 1333MHz 45
i7-640UM 1.2GHz 2.26GHz 32nm 2 4MB 800MHz 18
i7-640LM 2.13GHz 2.93GHz 32nm 2 4MB 1066MHz 25
i7-620UM 1.06GHz 2.13GHz 32nm 2 4MB 800MHz 18
i7-620M 2.66GHz 3.33GHz 32nm 2 4MB 1066MHz 35
i7-620M 2.66GHz 3.33GHz 32nm 2 4MB 1066MHz 35
i7-620LM 2.0GHz 2.8GHz 32nm 2 4MB 1066MHz 25


     ตารางด้านล่างนั้นคือ Core i7 Extreme Edition สำหรับโน้ตบุ๊กที่ได้รับการปลดล็อกตัวคูณมาให้เป็นที่เรียบร้อย

Model Internal Clock Turbo Boost L3 Cache Memory TDP (W) Max Temp.
 920XM  2.0GHz 3.2GHz 8MB 1333MHz 55 100



Core i5

Core i5 ซีพียูระดับกลางที่ยังแรงได้ใจ 


    Core i5 นั้นเป็นซีพียูชุดที่สองของ Intel ที่มีการรวมตัวควบคุมหน่วยความจำเข้ามาไว้ภายในตัวซีพียูเลย (Core i7 เป็นตัวแรก) และยีงคงมีการใช้สถาปัตยกรรม Nehalem อยู่เช่นเดิม ซีพียู Core i5 นั้นจะมาสองรูปแบบด้วยกันคือโมเดลที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1156 สำหรับเดสก์ท้อปและ PGA988 สำหรับโน้ตบุ๊ก
     คุณสมบัติหลักๆ ของ Core i5 นั้นยังคงมีพื้นฐานมาจาก Core i7 อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการรวมตัวควบคุมหน่วยความจำมาให้ในตัวซีพียู จึงทำให้ตัวซีพียูเองจะเป็นองค์ประกอบหลักในการทำหน้าที่กำหนดประเภทและปริมาณสูงสุดของหน่วยความจำที่สามารถใช้ได้ ซึ่งในที่นี้คือหน่วยความจำหรือแรม DDR3 แบบ Dual Channel ที่แรงดันไฟสูงสุด 1.6V ที่ความเร็ว 1066 และ 1333 MHz สำหรับเดสก์ท้อป และ 800 กับ 1066 MHz สำหรับโน้ตบุ๊ก
     นอกจากนั้น Core i5 ก็ยังคงมีตัวควบคุม PCI Express 2.0 ที่อยู่ภายในตัวซีพียูเองอีกด้วยเช่นเดียวกับ Core i7-8xx ที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1156 ซึ่งผู้ใช้งานสามารถใช้งานกราฟิกการ์ดที่อัตราการส่งข้อมูล x16 เมื่อมีการ์ดแค่ใบเดียว และ x8/x8 เมื่อใช้งานกราฟฟิกการ์ด 2 ใบ และเนื่องด้วยการที่มีตัวควบคุม PCI Express 2.0 ภายในตัวซีพียูมาแล้วนั่นเอง ทาง Intel ก็เลยใช้บัส DMI (Digital Media Interface) ซึ่งมีอัตราการรับส่งข้อมูลที่ 2GB/s เพื่อเชื่อมต่อการทำงานของซีพียูเข้ากับชิพเซ็ต
     แต่สิ่งที่พิเศษกว่าก็คือซีพียูในสาย Core i5 นั้นยังมีรุ่นย่อยที่ได้รับการผลิตโดยใช้กระบวนการ 32 นาโนเมตรอีกด้วย (รุ่นที่เป็น Core i5-6xx) ซึ่งมีกราฟฟิกชิพผูกติดมากับ die ของซีพียูเลย และกราฟฟิกชิพตัวนี้นั้นจะได้รับการควบคุมโดยตัวซีพียูเอง ไม่ใช่ชิพเซ็ตเหมือนกับกราฟฟิกชิพออนบอร์ดรุ่นที่แล้วๆ มา และที่สำคัญก็คือ Core i5-6xx นี้นั้นจะมีแกนซีพียูแท้ๆ เพียง 2 แกนเท่านั้นนะครับ ไม่ใช่ 4 แกน แต่ระบบจะเห็นเป็น 4 แกนเนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยี Hyper Threading นั่นเอง
     คุณสมบัติที่เหลือๆ นั้นส่วนใหญ่ก็คล้ายคลึงกับ Core i7 ไม่ว่าจะเป็นการมี base clock ที่ 133MHz มีเทคโนโลยี Turbo Boost และ Hyper Threading เป็นต้น
ซีพียูเดสก์ท้อป
     ตารางด้านล่างนั้นเป็นรายชื่อ Core i5 ทั้งหมดที่ได้มีการวางจำหน่ายในขณะนี้ โดยสิ่งที่อยากให้สังเกตนั่นคือโมเดลที่ขึ้นต้นด้วยเลข 6 นั้นจะมีแกนซีพียูจริงเพียง 2 แกน แต่ระบบจะเห็นเป็น 4 เนื่องจากเทคโนโลยี Hyper Threading ส่วนตัวที่ขึ้นต้นด้วยเลข 7 นั้นจะมีแกนซีพียูจริง 4 แกน แต่ไม่มีเทคโนโลยี Hyper Threading มาให้ด้วย นอกจากนั้น Core i5-6xx ที่ลงท้ายด้วยเลข 1 นั้นจะมีกราฟฟิกชิพมาให้ด้วยซึ่งทำงานที่ความเร็ว 900MHz ในชณะที่ Core i5-6xx ที่ลงท้ายด้วยเลข 0 นั้นกราฟฟิกชิพจะทำงานที่ความเร็ว 733MHz
Model
Internal Clock
Turbo Boost
Cores
HT
Video
L3 Cache
Tech.
TDP (W)
i5-750s
2.4GHz
3.2GHz
4
No
No
8MB
45nm
82
i5-750
2.66GHz
3.2GHz
4
No
No
8MB
45nm
95
i5-670
3.56GHz
3.73GHz
2
Yes
Yes
4MB
32nm
73
i5-661
3.33GHz
3.6GHz
2
Yes
Yes
4MB
32nm
87
i5-660
3.33GHz
3.6GHz
2
Yes
Yes
4MB
32nm
73
i5-650
3.2GHz
3.46GHz
2
Yes
Yes
4MB
32nm
73
ซีพียูโน้ตบุ๊ก
     เช่นเดียวกับซีพียู Core i7 บนโน้ตบุ๊ก Core i5 บนโน้ตบุ๊กนั้นยังใช้บนซ็อกเก็ต PGA988 และมีส่วนควบคุมหน่วยความจำ DDR3 แบบ Dual Channel มาให้เหมือนเดิม โมเดลซีพียูที่ออกมาในขณะนี้นั้นยังสนับสนุนความเร็วของหน่วยความจำที่ 800 และ 1066MHz และก็มีส่วนควบคุม PCIe 2.0 ซึ่งรองรับอุปกรณ์ที่ความเร็วบัส 16x และมีกราฟฟิกการ์ดมาให้ซึ่งวิ่งที่ความเร็ว 500MHz

Model
Internal Clock
Turbo Boost
Cores
HT
Tech.
L3 Cace
TDP (W)
Max. Temp.
i5-540M
2.53GHz
3.06GHz
2
Yes
32nm
3MB
35
105
i5-540M
2.53GHz
3.06GHz
2
Yes
32nm
3MB
35
105
i5-520M
2.4GHz
2.93GHz
2
Yes
32nm
3MB
35
105
i5-520M
2.4GHz
2.93GHz
2
Yes
32nm
3MB
35
105
i5-430M
2.26GHz
2.93GHz
2
Yes
32nm
3MB
35
105
i5-430M
2.26GHz
2.93GHz
2
Yes
32nm
3MB
35
105

Core i3

Core i3 ขวัญใจสำหรับคนงบน้อย

     สำหรับ Core i3 นั้นทาง Intel ตั้งใจวางไว้สำหรับตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ราคาประหยัดโดยเฉพาะ ซึ่งซีพียูตระกูลนี้นั้นเป็นซีพียูจาก Intel ชุดที่สามที่มีการรวมชุดควบคุมหน่วยความจำมาไว้ในตัวซีพียูเลย (Core i7 และ i5 เป็นชุดแรกและชุดที่สองตามลำดับ) และก็เช่นเดียวกับซีพียูสองชุดก่อนหน้าสถาปัตยกรรม Nehalem ที่ใช้บน Core i3 นั้นได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจาก Core 2 Duo และ Core 2 Quad ด้วยเหตุนี้จึงยังคงใช้บนซ็อกเก็ต LGA1156 และ สำหรับเดสก์ท้อป และ PGA988 สำหรับโน้ตบุ๊กเหมือนเดิม
     โครงสร้าง และคุณสมบัติของ Core i3 นั้นหลักๆ ยังคงเหมือนกับ Core i7 และ i5 โดยมีการรวมส่วนควบคุมหน่วยความจำไปอยู่ภายในซีพียูเลย ผลที่ได้คือตัวซีพียูเอง (ไม่ใช่ชิพเซ็ตเหมือนแต่ก่อน) ที่จะเป็นตัวกำหนดว่าระบบจะสามารถใช้หน่วยความจำประเภทใดหรือปริมาณเท่าไร โดยส่วนควบคุมหน่วยความจำดังกล่าวนั้นรองรับแรม DDR3 ที่แรงดันไฟสูงสุด 1.6v แบบ Dual-Channel ที่ความเร็ว 1066 และ 1333MHz สำหรับเดสก์ท้อป สำหรับโมเดลบนโน้ตบุ๊กนั้นจะรองรับความเร็วแรมที่ 800 และ 1066MHz
     นอกจากนั้นภายในตัวซีพียูก็ยังมีส่วนควบคุม PCI Express 2.0 ซึ่งรองรับการเชื่อมต่อที่ความเร็ว 16x และด้วยเหตนี้นั่นเองที่ทาง Intel ได้ตัดสินใจใช้ DMI (Digital Media Interface) ที่มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 2GB/ เพื่อเป็นช่องทางสำหรับซีพียูในการติดต่อสื่อสารกับตัวชิพเซ็ต
     Core i3 ทั้งหมดนั้นจะใช้เทคโนโลยี 32 นาโนเมตรในการผลิตและมีกราฟฟิกชิพติดตั้งมาให้แล้วซึ่งควบคุมโดยตัวซีพียูเอง และสำหรับ base clock ของ Core i3 นั้นยังคงอยู่ที่ 133MHz เช่นเดิม แต่สิ่งที่เป็นจุดด้อยของซีพียู Core i3 ทุกรุ่นนั่นคือการที่ไม่มีเทคโนโลยี Turbo Boost มาให้ด้วยครับ
ซีพียูเดสก์ท้อป
     ตารางด้านล่างเป็นรายชื่อซีพียู Core i3 สำหรับเดสก์ท้อปเท่าที่ออกมาล่าสุด โดยส่วนควบคุมหน่วยความจำที่ได้รับการรวมเข้ามาไว้ในตัวซีพียูนั้นจะรองรับความเร็วสูงสุดที่ 1333MHz บนแรมแบบ DDR3 สำหรับส่วนควบคุม PCIe 2.0 นั้นจะรองรับการเชื่อมต่อกราฟฟิกการ์ดที่ความเร็ว 16x สำหรับการติดต่อสื่สารกับชิพเซ็ตบนเมนบอร์ดนั้นจะผ่านทางบัส DMI ที่ความเร็ว 2GB/s และซีพียูทั้งหมดนั้นจะมีชิพกราฟฟิกซึ่งทำงานที่ความเร็ว 733MHz รวมมาให้ด้วย นอกจากนั้นก็ยังรองรับเทคโนโลยี Hyper Threading เช่นเคย จึงทำให้ระบบมองเห็นแกนซีพียูเป็นทั้งหมด 4 แกนจำลองครับ
Model
Internal Clock
Cores
HT
Video
L3 Cache
Tech.
TDP (W)
Max. Temp. (C)
i3-540
3.06GHz
2
Yes
Yes
4MB
32nm
73
72.6
i3-530
2.93GHz
2
Yes
Yes
4MB
32nm
73
72.6
ซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊ก
     Core i3 สำหรับโน้ตบุ๊กนั้นจะใช้ซ็อกเก็ต PGA988 สำหรับส่วนควบคุมหน่วยความจำนั้นจะรองรับแรม DDR3 ที่ความเร็ว 800 และ 1066MHz และก็เช่นเดียวกับโมเดลบนเดสก์ท้อปที่ส่วนควบคุม PCIe 2.0 นั้นจะรองรับการรับส่งข้อมูลที่ 16x และชิพกราฟฟิกที่รวมมาให้ด้วยนั้นจะทำงานที่ความเร็ว 500MHz
Model
Internal Clock
Cores
HT
Tech.
L3 Cache
TDP (W)
Max. Temps (C)
i3-350M
2.26GHz
2
Yes
32nm
3MB
35
90
i3-330M
2.13GHz
2
Yes
32nm
3MB
35
90
สรุป
     ก็จบไปกันแล้วนะครับสำหรับบทความไขข้อข้องใจซีพียู Core I ในครั้งนี้ ก็หวังว่าเพื่อนๆ ท่านผู้ท่านทุกคนคงจะได้รับประโยชน์ไปบ้าง อย่างน้อยๆ ก็อาจเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการอัพเกรดคอมพิวเตอร์ในปีนี้ ถ้าเพื่อนๆ ถูกใจกับบทความประเภทนี้ ไว้คราวหน้าผมจะเขียนถึงซีพียูของฝั่ง AMD บ้างนะครับ


CPU Core 2 Duo

CPU Core 2 Duo



Core2 ( จาก Core2 DUO) ไม่ได้หมายถึงว่าเป็น Dual Core CPU เป็นคำว่า " DUO" ที่ตามมาต่างหากที่จะเป็นส่วนที่บอกว่าเป็น Dual Core

คำว่า Core2 น่าจะหมายถึง Intel Core รุ่นที่ 2 (Intel Core Micro architecture) มากกว่า... ที่พัฒนาต่อจาก Intel Core ( ที่ใช้ใน Core Solo/DUO สำหรับ Mobile CPU ที่มีรหัสว่า Yonah) แต่ขณะเดียวกัน Intel Core ที่ใช้ในตอนนี้น่าจะเป็นลักษณะของ "แบรนด์" มากกว่าเรื่องของเทคโนโลยี โดยเปรียบได้กับคำว่า Athlon/Turion ของฝั่ง AMD  ส่วนคำว่า DUO เป็นตัวเสริมว่าเป็น Dual Core ซึ่งถ้าเปรียบกับ AMD ก็คือคำว่า X2 นั่นเอง

ข้าพเจ้าเข้าใจว่าแต่เดิม Intel แยกสายการผลิตระหว่าง Desktop กับ Mobile โดยใช้เทคโนโลยีในการผลิตแตกต่างกัน คือ Desktop ใช้ NetBurst ที่เริ่มต้นจาก Pentium4 (Willamette, Northwood, Prescotte) ที่เป็น Single Core และพัฒนาต่อมาจนเป็น Pentium D (Smithfield, Presler)
*** NetBurst เป็นเทคโนโลยีการผลิต , Pentium 4/Pentium D เป็นแบรนด์ ***
โดยขณะเดียวกันทางฝั่ง Notebook (Labtop) ได้พัฒนา Intel Core กลายมาเป็น Core Solo/DUO
*** Intel Core เป็นเทคโนโลยีการผลิต , Core Solo/DUO เป็นแบรนด์ ***
แต่ต่อมาปรากฏว่า NetBurst นั้นเริ่มตัน สู้ K8 ของทางฝั่ง AMD ไม่ได้ เลยมาพัฒนาเทคโนโลยี Intel Core ต่อ (แล้วก็เรียกว่า Intel Core Micro architecture)
จากนั้นก็เลยถือโอกาสสร้างแบรนด์ใหม่ขึ้นมาเพราะชื่อ Pentium โดน Athlon ปู้ยี้ปู้ยำจนเสียหายหมดแล้ว... มาใช้ชื่อ Intel Core2 ทีนี้พอเป็น dual core ด้วยเลยเติม " DUO" ลงท้ายให้กลายเป็น "แบรนด์" ที่เรียกว่า "INTEL Core2 DUO" ( นี่ถ้าเกิดว่าทำ CPU ฉบับ single core ด้วย Intel Core Micro architecture ก็อาจจะเรียกว่า Core2 Solo)
** Intel Core Micro architecture เป็นเทคโนโลยีการผลิต , INTEL Core2 DUO เป็นแบรนด์ **

สรุป
- INTEL Core Solo/Duo ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับ Pentium D เปรียบได้กับถือสัญชาติเดีย ( INTEL) แต่ต่างเชื้อชาติ ( Intel Core กับ NetBurst)
- INTEL Core2 DUO เป็นแบรนด์...
คำว่า Core2 บอกว่าใช้เทคโนโลยีการผลิต Intel Core Micro architecture ( รุ่นที่ 2) ซึ่งพัฒนาต่อจาก Intel Core ที่ใช้ในการผลิต Mobile CPU รหัส Yonah
ส่วน DUO บอกว่าเป็น dual core CPU
- DUO Core เป็นการเรียกผิด.. ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าผิดได้สองประการคือ
1. เรียกคุณลักษณะของ CPU ผิด... จาก "DUAL" เป็น " duo" ( คล้ายการเรียกมาตรฐาน DVD ผิด จาก " DUAL LAYER" เป็น " double layer")
*** ที่ถูกคือต้องเรียกว่า " DUAL CORE CPU" ( และ " DUAL LAYER" สำหรับ DVD) ***
2. เรียกชื่อแบรนด์ของ Mobile CPU (code name Yonah) ผิด จาก " CORE DUO" สลับที่กลายเป็น " duo core"
*** ที่ถูกต้องเรียกว่า " CORE DUO" ***
Core DUO กับ Core2 DUO ต่างกันอย่างไร

เป็น DUAL Core CPU ทั้งคู่ แต่ Core DUO เกิดมาเพื่ออยู่ใน Notebook ดังนั้นข้าพเจ้าไม่แน่ใจว่าเมืองไทยจะมีแบบที่แยกขายเฉพาะตัว CPU หรือเปล่า... และถ้าจับมาใส่ Mainboard Desktop ที่วางขายทั่วไปจะมีปัญหาอะไรหรือไม่นะขอรับ...
ขณะที่ Core2 DUO ( รุ่น Exxxx รหัส Allendale/Conroe) เป็นรุ่นใหม่กว่า ออกแบบสำหรับ Desktop PC โดยเฉพาะ ดังนั้นหาเมนบอร์ดได้ง่ายกว่า น่าจะมีปัญหาน้อยกว่า ที่สำคัญเนื่องจากออกใหม่เลยมีประสิทธิภาพดีกว่า ( ถ้าแย่ก็กว่าก็คงไม่รู้จะทำมาทำไมน่ะนะขอรับ) แต่ประสิทธิภาพจะต่างกันจะมากน้อยเพียงใดคิดว่าน่าจะเทียบกันลำบากหน่อย... เพราะข้าพเจ้ายังไม่เคยเห็นการทดสอบที่ถอดเอา Core DUO ( ที่เป็น Mobile CPU) มาใส่ testbed แบบเดียวกับ Core2 DUO เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพนะขอรับ


น่าจะช่วยให้ผู้ที่ต้องการจะซื้อเลือกได้นะครับ สำหรับนัก Modeler (มีหรือเปล่า ผมตั้งมาเอง สำหรับจะนักเขียนโมเดล ... อิอิ) สุดท้ายขอขอบคุณ อ.ดร.นพ อีกครั้งหนึ่งนะครับ ขนาดอยู่ตั้งไอซ์แลนด์ ยังมาถึงพันธ์ทิพย์ในไทยได้ครับ (แต่ว่าอาจจะอยู่ที่บริษัท อินเทล intel เลยก็ได้นะครับตอนนี้)

CPU Pentium 4

Intel Pentium4

         เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์นั้น พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะหัวใจหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างโปรเซสเซอร์ ในปัจจุบันนี้ได้พัฒนาข้ามขั้น ความเร็วที่ กิกะเฮิรตซ์ ไปเรียบร้อยแล้ว และน่าจะมีการพัฒนาขึ้นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งโปรเซสเซอร์อย่าง Intel Pentium4 นั้น เป็นที่เป็นที่รู้จักกันดี และเป็นที่ นิยมกันอยู่ในปัจจุบันนี้ อีกทั้งยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโปรเซสเซอร์ตัวใหม่ล่าสุดอย่าง Pentium4 Prescott ที่มาพร้อมกับหน่วยความจำแคช L2 ขนาดใหญ่ ซึ่งจะต้องเลือกเมนบอร์ดที่รองรับการทำงานของ Prescott ด้วยซึ่งเมนบอร์ดที่วางจำหน่ายตามศูนย์การค้าหรือ ร้านค้าอุปกรณ์ไอทีต่างๆ นั้น ไม่ว่า จะเป็น ยี่ห้อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ASUS, GIGBYTE, MSI, DFI, SOLTEK, LEMEL และอีกหลายๆ ยี่ห้อที่มีเข้ามาจำหน่ายในบ้าน เราต่างก็มีเมนบอร์ดที่ สนับสนุนการทำงานของ Pentium4 Prescott ออกมาวางจำหน่ายแล้วหลายรุ่นในบ้านเราซึ่งจำเป็นจะต้องตรวจสอบดูให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจซื้อครับ

 รู้จักกับ Intel Pentium4 Prescott
           โดยโปเซสเซอร์ Intel Pentium4 ที่มีจำหน่าย อยู่ในท้องตลาดขณะนี้นั้น ได้แก่ Pentium4 Northwood ซึ่งเป็นPentium4 รุ่นที่ ที่ติดตั้งบน ซ็อกเก็ต 478 มีแคช L2 512 KB โดยในรุ่นนี้นั้นได้แบ่งออกเป็นอีก รุ่น ดังนี้
 Pentium4 Northwood รหัส A (มีอักษร ต่อท้าย) ใช้ความเร็ว Bus 400MHz
 Pentium4 Northwood รหัส B (มีอักษร ต่อท้าย) ใช้ความเร็ว Bus 533MHz
 Pentium4 Northwood รหัส C (มีอักษร ต่อท้าย) ใช้ความเร็ว Bus 800MHz พร้อมทั้งมี
 Pentium4 Extreme Edition หรือ Pentium4 EE เป็นรุ่น Top สุดในปัจจุบัน โดยจำหน่ายเพียง รุ่นเดียวคือ Pentium4 XE3.2GHz
มีแคช L2 1 เมกะไบต์ และ L3 2 เมกะไบต์ ทำงานที่ Bus 800MHz และมี Hyper Threading Technology และ Pentium4 Prescott ซึ่งเป็นรุ่นที่พึ่งจะเปิดตัว ไม่นานนี้เอง มีแคช L2 ขนาด เมกะไบต์ ใช้สถาปัตยกรรม 0.09 ไมครอน มีชุดคำสั่งSSE3
           สำหรับโปรเซสเซอร์ Intel Pentium4 ใหม่อย่าง Intel Pentium4 Prescott นี้ มีการเปลี่ยนแปลงจาก Pentium4 ตัวเดิมที่ใช้คอร์ Northwood เดิม ดังนี้คือ Prescott ผลิตด้วยเทคโนโลยี 0.09 ไมครอน (หรือ 90 นาโนเมตร) แทนเทคโนโลยี 0.13ไมครอนที่ใช้อยู่ใน Pentium 4 รุ่นเดิม โดยผลิตบน แผ่นเวเฟอร์ขนาด 12 นิ้ว ซึ่งจะมีแพ็คเกจขนาดที่เล็กลง ที่ประมาณ112 ตารางมิลลิเมตร โดยเมื่อเทียบกับขนาด 132 ตารางมิลลิเมตรของ Northwood และ มีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ประมาณ125 พันล้านตัว จาก 55 พันล้านตัวของ Northwood โดย Prescott และในส่วนของแคช (Cache) ที่เพิ่มแคช L1 จาก 8KBมาเป็น 16kB และเพิ่มแคช L2 จากเดิม 512KB มาเป็น เมกะไบต์ พร้อมทำงานที่ความเร็ว 800MHz FSB และยังเพิ่มชุดคำสั่ง (Instruction) ด้านมัลติมีเดียเพิ่มเข้ามาอีกไม่ต่ำกว่า 13 ชุด ส่งผล ให้ Prescott มีสมรรถนะด้านกราฟิกและการคำนวณ เลขทศนิยมสูงกว่า Pentium 4 รุ่นเดิมอย่างเห็น ได้ชัด โดย Prescott โดยถูกปล่อยออกสู่ตลาดเมื่อปลายปี 2003พร้อมฟีเจอร์ด้านซีเคียวริตี้ที่ดีกว่า และใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เรียกว่า Strained Silicon ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ทรานซิสเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้น โดยสถาปัตยกรรมพื้นฐานของ Prescott เป็นตัวเดียวกันกับ PentiumM โค้ดเนม “Banias”แต่ สำหรับ Prescott นั้นจะพิเศษกว่าตรงที่มีการฝังความสามารถด้านรักษาความปลอดภัยที่เรียกว่า LaGrande เอาไว้ในตัวชิปด้วย อีกทั้งยังรองรับ Hyper Threading Technology ซึ่งจะทำงานเสมือนมีโปรเซสเซอร์ ตัวทำงานอยู่บนระบบเดียวกัน คล้ายระบบดูอัลโปรเซสเซอร์ที่สามารถทำงาน อย่างได้ใน เวลาเดียวกันในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้กับเมนบอร์ดที่รองรับการทำงานด้วย


แสดงรายละเอียดของโปรเซสเซอร์ ตัวใหม่ของ Pentium4 Prescott/ Tejas

Intel Pentium4 Prescott
Intel Pentium4 Tejas
• 90nm process technology
• 90/65nm process technology
• 109 mm crystal size
• 120-140 mm (90nm) and 80-100 mm (65nm) crystal size
• 13 new instructions (Prescott New Instructions, PNI) for videoencoding, thread synchronization and complex math ops,
• Enhanced Hyper-Threading
• LaGrande support
• 8 new instructions (Tejas New Instructions, TNI) for improved voice float-to-integer conversions, etc. recognition, multi-threading, Dolby Digital support (codename “Azalia”), etc.
• 1Mb L2 cache
• 1Mb L2 cache
• 16Kb L1 cache
• 24Kb L1 cache
• 800MHz FSB
• 16Kb custom op cache
• Socket T LGA 775 package
• 800/1066MHz FSB
• 3.4GHz initial clock speed; up to 5GHz
• Socket T LGA 775 package
• Dual-channel DDR2 400/533MHz, PCI Express x16
• Dual-channel DDR2 400/533MHz, PCI Express x16 & ICH6 support& ICH6 support
           

       สำหรับ Intel Pentium4 Prescott ที่วางจำหน่าย ในบ้านเรานั้น ในตอนนี้มี รุ่นความเร็วที่ 2.80E GHz, 3.0E GHzและ 3.20E GHz ซึ่ง รองรับการทำงานของ Hyper-Threading Technology และ FSB 800MHz ซึ่งถือเป็นซีพียูรุ่นใหญ่ และก็ยังมี Pentium4 Prescott รุ่นเล็กด้วย นั่นก็คือ Prescott 2.40A GHz ซึ่งจะ ไม่รองรับ Hyper-Threading Technologyและใช้ FSB ที่ 533MHz เท่านั้น


 
แสดงการทำงานของ Prescott Pipeline
 อนาคตของ Prescott
           สำหรับ Intel Pentium4 Prescott นี้ ยังคงใช้ซ็อกเก็ต 478 อยู่เหมือนเดิม ในช่วงเวลานี้ ซึ่งทาง Intel มีแผนจะเปลี่ยนซ็อกเก็ตอีกครั้ง โดยจะเปลี่ยน ซ็อกเก็ตจาก Socket 478 ไปสู่ซ็อกเก็ตแบบ LGA775 หรือ Socket T เพื่อเตรียมรับกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น Dual DDR2 และ PCI Express โดยที่ในขณะนี้ มีเมนบอร์ดที่สนับสนุน LGA775 ออกมาให้เห็นกันบ้างแล้ว ในช่วง เดือนมิถุนายนนี้ สำหรับซีพียู Pentium4 และ Celeron รุ่นใหม่ที่จะออก มาจำหน่ายในแพ็คเกจแบบ LGA775 นั้น ทางจะมีการเปลี่ยนชื่อและรหัสของโปรเซสเซอร์ ใหม่แทนการตั้งชื่อตามความเร็วของซีพียูแบบเดิม เพื่อป้องกันความ สับสนโดยจะแบ่งเป็นตระกูลต่างๆทั้งหมด 3กลุ่มดังนี้ ซีพียูในกลุ่มPerformance Segment จะอยู่ในตระกูล 7xx ซีพียูในกลุ่มMainstream Segment จะอยู่ในตระกูล 5xx และซีพียูที่อยู่ในกลุ่ม Value Segment จะอยู่ในตระกูล3xx โดยมีรายละเอียดของแต่ละรุ่นซึ่งเป็นซีพียูที่จะออกมาจำหน่ายในอนาคต




เปรียบเทียบซีพียู Prescott 478 กับ LGA775


 การเลือกเมนบอร์ด สำหรับ Prescott Socket478
           สำหรับผู้ที่จะเปลี่ยนซีพียูมาใช้ Pentium4 Prescott socket 478 นั้น จะต้องดูว่าเมนบอร์ดที่ใช้อยู่หรือกำลังจะตัดสินใจซื้อนั้น รองรับการทำงาน ของ Prescott หรือไม่โดยดูได้จากชิปเซตบนเมนบอร์ด ซึ่งเมนบอร์ดที่รองรับการทำงานกับPentium4 Prescott socket 478 ในปัจจุบันนี้ได้แก่
  • ชิปเซตจาก Intel ได้แก่: Intel 848P, 865PE, Intel 865P, Intel 865G Intel 875P และ Intel875PE
  • ชิปเซตจาก VIA ได้แก่: VIA PT800 และ VIA PT880
  • ชิปเซตจาก SiS ได้แก่: SiS 648FX, SiS 655FX, SiS 655TX, SiS 655FX และ SiS 661FX
  • ชิปเซตจาก ATi ได้แก่: ATi Radeon 9100 IGP
           ซึ่งในขณะนี้มีเพียงเท่านี้ สำหรับชิปเซตที่รองรับ Prescott แต่ไม่ใช่เมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซตดังกล่าวมานั้น จะสามารถใช้งานกับ Pentium4 Prescott ได้ทุกรุ่นนะครับ


           สำหรับวิธีที่ดี และแน่นอนที่สุดนั้น คือการ เข้าไปตรวจสอบกับเว็บไซต์ของผู้ผลิตเมนบอร์ดรายนั้นๆ ด้วยตัวเอง เนื่องจากข้อมูลนั้นมีการอัพเดท และ เปลี่ยนแปลงอย่างเสมอ ซึ่งในเมนบอร์ดบางตัวอาจจะต้องทำการ Update BIOSก่อนจึงจะสามารถ ใช้ Prescott ได้ หรือเมนบอร์ดบางตัวอาจจะไม่ได้ สามารถใช้ได้เลยก็เป็นได้ โดยในบางยี่ห้อมีการผลิต และอัพเดทให้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งยกตัวอย่างในผู้ผลิตเมนบอร์ดรายใหญ่อย่าง GIGABYTER เอง ได้มี การเปิดตัวเมนบอร์ดรุ่นใหม่ และรุ่นเก่าที่นำมาปรับปรุงให้สามารถรองรับกับ Pentium4 Prescott socket 478 ได้ ซึ่งได้แก่เมนบอร์ดRZ Series เป็นต้น